1. ขั้นตอนการปฏิบัติงานของสายตรวจ รปภ. นั้นก่อนอื่นต้องเข้าใจด้วยว่า สายตรวจควรมีคุณสมบัติ
อย่างไรเสียก่อน คือ
1.1 ความรู้ไม่ต่ำกว่า ม.6 ขึ้นไปมีบุคลิกภาพดี มีความน่าเชื่อถือ เพราะการจะเป็นหัวหน้า รปภ. นั้น ควรมีวุฒิภาวะ , ทักษะ , ประสบการณ์ ปฏิภาณไหวพริบ , ความละเอียดอ่อน , รอบคอบ ฯลฯ เป็นนักวางแผนที่ดี พูดง่ายๆ ต้องมีความชำนาญงานด้านรักษาความปลอดภัย มีประการณ์ตั้งแต่ 5–10 ปี เป็นต้นไป หรือหากมีความรู้ต่ำกว่า ม.6 แล้วต้องเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีความรับผิดชอบสูง แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ ยิ่งเคยปฏิบัติงานทางด้านปฏิบัติการกลางมาก่อนทำให้ทราบปัญหาต่างๆ ของหน่วยงาน , ผู้ว่าจ้าง และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้เป็นอย่างดี
1.2 สามารถเปิดหน่วยงานใหม่ได้ และปิดหน่วยงานเก่าได้ พร้อมสรรหาบุคลากรเบื้องต้นให้บริษัทได้เป็นอย่างดี
1.3 พิสูจน์ทราบ , วิธีการ , การตรวจสอบกรณีทรัพย์สินสูญหาย และ/หรือเสียหาย
1.4 มีความรู้ขั้นพื้นฐานในการฝึกอบรม หัวหน้า รปภ. และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการแสดงความเคารพ , วิชาทหาร , จราจร ฝึกบุคคลท่ามือเปล่า ,การดับเพลิง ฯลฯ เพื่อเป็นผู้ช่วยครูฝึกอีกตำแหน่งหนึ่ง เมื่อมีการฝึกอบรมนอกพื้นที่ตามหน่วยต่างๆ
2. แล้วก็มาถึงขั้นตอนและ/หรือ หน้าที่ของสายตรวจ รปภ.คือ
2.1 สามารถปฏิบัติตามข้อ 1 ที่กล่าวมาข้างต้นได้เป็นอย่างดี
2.2 ตรวจตราดูแลให้ รปภ. ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพในเขตรับผิดชอบของตนเอง
2.3จัดกำลังพล รปภ.ลงจุด ให้ครบในผลัดนั้นๆ และเตรียมการจัดกำลังพลผลัดต่อไปให้เรียบร้อย หากมีปัญหาต้องประสานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการกลาง ให้ช่วยเหลือ และเสร็จสิ้นในวันนั้นๆ
2.4 ปฏิบัติหน้าที่ตรวจตามที่ได้รับมอบหมาย
2.5 เสนอข้อบกพร่องที่ควรแก้ไข เกี่ยวกับงานรักษาความปลอดภัย
2.6 ดูแลยานพาหนะของหน่วยงาน และติดตามผลงานทั้งหมด
2.7 ประสานงาน และติดต่อสอบถามระหว่างลูกค้ากับบริษัท พร้อมตารางวันเข้าพบผู้ว่าจ้าง
2.8 มีจิตวิทยาในการสื่อสารกับ รปภ. และหัวหน้า รปภ. เมื่อเกิดปัญหาหรือเกิดข้อพิพาทต่างๆ
2.9 งานอื่นๆ ที่ฝ่ายปฏิบัติการกลางมอบหมาย
หากคุณสมบัติของสายตรวจข้อที่ 1 ครบ และจะได้สายตรวจมีคุณภาพเต็มมาตรฐาน เพราะเมื่อมีคุณสมบัติดังกล่าวครบถ้วนแล้ว สายตรวจจะได้ปฏิบัติตามข้อ 2 อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดทำให้หน่วยงาน ตลอดจนบริษัทมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น