AEC.มาจ้างต่างด้าวได้หรือไม่
AEC.มาจ้างต่างด้าวได้หรือไม่
จากบทความข้อที่ 1 จุดประสงค์ของ AEC. คือเปิดการค้าเสรี อาชีพมีมาตรฐานฝีมือ 8 อาชีพ ไม่ได้รวมอาชีพ รปภ. ด้วย โดยสรุปแล้วทุกประเทศในโลกส่วนมากจะสงวนอาชีพ รปภ.
หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ให้บุคคลในประเทศนั้นๆ ปฏิบัติหน้าที่ รปภ.ต่างด้าวไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ แม้แต่จะเข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมาย เป็นประเภทแรงงานไม่มีฝีมือหรือได้มาตรฐาน เพราะอาชีพ รปภ. ต้องใช้ภาษาพูดและเขียนของประเทศนั้นๆ เป็นพื้นฐานในการสื่อสาร เมื่อเกิดปัญหา โดยสัญชาติญาณและปฏิภาณไหวพริบ โดยกำเนิด เพื่อจะได้อบรบ สั่งสอน ชี้แจงพัฒนา ขั้นพื้นฐานที่จะดำเนินการได้อย่างถูกต้องและชัดเจน หากในอนาคตข้างหน้าอาจจะมีการกำหนดหมวดแรงงานต่างด้าวเข้าทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ก็จะต้องเป็นข้อตกลงกันระหว่าง AEC. ด้วยกัน หรือแรงงานที่ทำได้ตามคุณสมบัติที่ตกลงยอมรับ ( MUTURL RECOGNITION AGREEMENTS : MRAS ) เหล่านี้เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันได้แบ่งเป็น 8 อาชีพนี้ ที่มี MRA.
เพราะฉะนั้นการใช้แรงงานต่างด้าวในอาชีพเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจึงผิดจรรยาบรรณในกระบวนความประพฤติที่กลุ่มวิชาชีพหรือสมาคมร่วมกันพิจารณากำหนดขึ้น เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มหรือในสังคมนั้นยืดถือหรือมาตรฐานของความประพฤติบริษัท องค์กร ว่าถูกหรือผิด สมควรหรือไม่สมควร ดังนั้น โดยสมาคมรักษาความปลอดภัยภาคพื้นเอเชีย (ประเทศไทย)ซึ่งคุณวัลลภ กิ่งชาญศิลป์ นายกสมาคมจึงได้สงวนอาชีพ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไว้สำหรับผู้มีสัญชาติไทย เนื่องจากเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ทรัพย์สินและความสงบสุขของประชาชนโดยทั้งไป รวมถึงความมั่นคงของชาติในสถานที่ราชการต่างๆ
หลักเกณฑ์ ( MUTURL RECOGNITION AGREEMENTS : MRAS ) มีกรอบแนวคิดที่ต้องดำเนินการ 4 ประการ ได้แก่
การอำนวยความสะดวกในการตรวจลงตราและใบอนุญาตทำงาน
- การเทียบเคียงสมรรถนะและศักยภาพของบุคลากรในสาขาอาชีพที่ตกลงกัน
- การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัยในอาเซียน
- การเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในการค้นคว้าวิจัย